วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

สารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร


สารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร

ชนิดสารเคมี (วัตถุเจือปน) ที่ห้ามใช้ ในอาหาร
  1. สารฟอกขาว
    อันตรายต่อร่างกาย 
    - จะเกิดอาการปวดท้อง เวียนศรีษะ อาเจียน อุจจาระร่วง ความดันโลหิตต่ำ
    - ผู้ที่แพ้อย่างรุนแรง หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด จะเกิดอาการช็อค หมดสติ และเสียชีวิต
    ชนิดอาหารที่พบ - น้ำแช่ผักผลไม้ เช่น ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว หยวกกล้วย กล้วยดิบ ฯลฯ
    - ผัก ผลไม้แปรรูป เช่น ทุเรียนกวน หน่อไม้ดอง ขิงดอง สับปะรดกวน กะปิ ฯลฯ
    กฎหมายกำหนด ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 62/24 ,84/27 สามารถเจือปนได้ในอาหารบางชนิด แต่สารฟอกขาวเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
     
  2. สารบอแรกซ์
    อันตรายต่อร่างกาย 
    - อาการเฉียบพลัน อาเจียน ท้องเสีย ผิวหนังร้อนแดง ชัก มีไข้สูง ตัวเหลือง ความดันลด หมดสติ ตายในที่สุด
    - อาการเรื้อรัง ได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ผมร่วง ชัก และโลหิตจาง
    - ทำให้ทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง
    - เป็นพิษต่อไต และสะสมในสมอง
    ชนิดอาหารที่พบ - เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ ( หมูบด ปลาบด ทอดมัน ลูกชิ้น หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ฯลฯ)
    - ผลไม้ดอง - ทับทิมกรอบ ลอดช่อง
    กฎหมายกำหนด - ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 ( พ.ศ.2536 ) กำหนดให้สารบอแรกซ์เป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ผู้ฝ่าฝืนมีโทษให้ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
    - พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 กำหนด บอแรกซ์เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความ “บอแรกซ์อันตรายห้ามใช้ในอาหาร“ ถ้าไม่มีฉลากมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
     
  3. กรดซาลิซิลิค (สารกันรา)
    อันตรายต่อร่างกาย 
    - อาการเฉียบพลัน ปาก คอไหม้ หายใจถี่ อาเจียน หูอื้อ ง่วงซึม เหงื่อออกมาก ชัก หมดสติ ผิวหนังเป็นสีเขียว เนื่องจากขาดออกซิเจน
    - พิษเรื้อรัง ได้แก่ หูอื้อ มีเลือดออกในกระเพาะหรือไต มีแผลในกระเพาะอาหาร
    - หายใจลึกถี่ผิดปกติ ความเป็นกรด-ด่าง ของร่างกายเสียไป
    ชนิดอาหารที่พบ - อาหารหมักดอง ได้แก่ มะม่วงดอง ผักดอง ผลไม้ดอง
    - เครื่องแกง
    กฎหมายกำหนด ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 ( พ.ศ.2536 ) “ กำหนดให้กรดซาลิซิลิคเป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ”
     
  4. สารฟอร์มาลิน
    อันตรายต่อร่างกาย 
    - ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องเสียอาเจียน กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
    - ตับ ไต และสมองถูกทำลาย เยื่อบุอวัยวะภายในอักเสบ หากเข้าสู่ร่างกาย 60-90 มล. ทำให้ตายได้
    ชนิดอาหารที่พบ - น้ำแช่อาหารทะเลสด เนื้อสัตว์ต่างๆ
    - ผักและผลไม้สด
    กฎหมายกำหนด ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 ( พ.ศ.2536 ) “ กำหนดให้สารฟอร์มาลินเป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ”
     
  5. กรดแร่อิสระ (น้ำส้มสายชูปลอม)
    อันตรายต่อร่างกาย 
    - กัดกระเพาะ ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง และเกิดโรคกระเพาะได้
    ชนิดอาหารที่พบ - น้ำส้มสายชูทุกชนิด
    - น้ำส้มพริกดอง
    กฎหมายกำหนด ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 204 (พ.ศ.2543) “ กำหนดให้กรดแร่อิสระเป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ”
     
  6. ปริมาณกรดน้ำส้มในน้ำส้มสายชู
    อันตรายต่อร่างกาย 
    - การบริโภคน้ำส้มสายชู ที่มีปริมาณกรดน้ำส้มเกินมาตรฐานที่กำหนด (7%) จำทำให้เกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรงต่อปาก และระบบทางเดินอาหาร
    ชนิดอาหารที่พบ - น้ำส้มสายชูทุกชนิด
    กฎหมายกำหนด ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 48 (พ.ศ.2523) กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานน้ำส้มสายชูดังนี้ - น้ำส้มสายชูหมักและกลั่นต้องมีปริมาณกรดน้ำส้มไม่น้อยกว่า 4 % - น้ำส้มสายชูเทียมต้องมีปริมาณกรดน้ำส้มไม่น้อยกว่า 4% และไม่เกิน 7%
     
  7. ค่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
    อันตรายต่อร่างกาย 
    น้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมคุณภาพและมีค่าโพลาร์เกินมาตรฐานอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดและหัวใจ และโรคมะเร็งแก่ผู้บริโภคได้
    ชนิดอาหารที่พบ - น้ำมันทอดหรือประกอบอาหารที่มาจากพืชและสัตว์
    กฎหมายกำหนด ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 283 (พ.ศ. 2547) กำหนดมาตรฐานน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายมีสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก หากฝ่าฝืน มีความผิดข้อหาจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library/chemicals_food/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น